สไลโชว์

นาฬิกา

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของทรัพยากรประมงในท้องถิ่น

มุมมองจากอาจารย์มหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน
4.1 สาธารณรัฐประชาชนจีนถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลกและรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และปกป้องการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม โดยรัฐบาลให้คำจำกัดความทรัพยากรธรรมชาติว่าเป็น Whole - people owned หรืออีกนัยหนึ่ง State – ownership
4.2 ปัจจุบัน สาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎหมาย ABS โดยตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของทรัพยากรพันธุกรรม ซึ่งจะไม่สามารถสร้างความมังคั่งให้กับประเทศได้หากต้องปล่อยทิ้งไว้กับธรรมชาติโดยไม่ใช้ประโยชน์ ดังนั้น กฎหมาย ABS ในอนาคตจะพยายามสร้างสมดุลย์ระหว่าง Conservation และ Utilization
5. นโยบายและกฎหมาย ABS ของอินโดนีเซีย
5.1 อินโดนีเซียมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยกรธรรมชาติหลายฉบับ เช่น ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ การกักกันพืช สัตว์ ประมง ตลอดจนการคุ้มครองพันธุ์พืช แต่ยังไม่เกี่ยวกับ ABS โดยตรง ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการปรับปรุง Law No.5 1994 on CBD Ratification
5.2 ปัจจุบันการเก็บตัวอย่าง Plant Genetic Ratification จะต้องขออนุญาตหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากภาครัฐ โดย PGR ที่ได้จะต้องแยกให้หน่วยงานที่รับผิดชอบของอินโดนีเซียเก็บรักษาไว้ครึ่งหนึ่งที่ธนาคารพันธุกรรม
6. นโยบายและกฎระเบียบ ABS ของไทย
6.1 หน่วยงานรับผิดชอบของไทยประกอบด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพาณิชย์ และสภาวิจัยแห่งชาติ โดยมีสำนักความหลากหลายทางชีวภาพทำหน้าที่เป็น CBD National Focal Point
6.2 ปัจจุบัน ได้มีการยกร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าถึงและได้รับผล ประโยชน์ตอบแทนจากการใช้ทรัพยากรชีวภาพซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา7. งานด้านทรัพยากรพันธุกรรมของรัฐซาราวัค มาเลเซีย
7.1 สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพรัฐซาราวัค ตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อรองรับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยสร้างระบบเชื่อมโยงการดำเนินงานที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่นและสถาบันต่างประเทศ
7.2 การดำเนินงานของสถาบันอยู่ภายใต้กฤษฎีกา Surawak Biodiversity Centre พ.ศ. 2520 และฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2546 โดยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจะต้องปฏิบัติตาม (1) Material Transfer Agreement (2) Memorandum of Agreement และ (3) การขออนุญาตเพื่อการวิจัย
8. นโยบายและหลักเกณฑ์ทางชีวภาพของฟิลิปปินส์
8.1 ฟิลิปปินส์ออกกฎหมายการอนุรักษ์และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ พ.ศ. 2544 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้บังคับการเก็บรวบรวมและการเข้าถึงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ และ จุลินทรีย์ เพื่อใช้ประโยชน์ด้านงานวิจัย และการศึกษาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการค้า
8.2 สำหรับการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับเจ้าของทรัพยากรรัฐบาลฟิลิปปินส์กำหนดให้จ่ายค่า Royalties ขั้นต่ำร้อยละ 2 จากยอดขายต่อปี โดยแบ่งให้ภาครัฐบาลร้อยละ 25 และผู้ครอบครองผลประโยชน์ในท้องถิ่นร้อยละ 7ข้อสังเกตปัจจุบันเพื่อนบ้านของไทยมีความก้าวหน้าในด้านความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้าง มากเมื่อเปรียบเทียบกับไทย ทั้งนี้ ในระหว่างการสัมมนาผู้แทนมาเลเซียได้เชื้อเชิญให้บริษัทต่างชาติเข้าไปศึกษาและเก็บตัวอย่าง พืช สัตว์ จุลินทรีย์ และดำเนินงานวิจัยร่วมกันโดยพร้อมให้การอำนวยความสะดวกในด้านการขออนุญาต เนื่องจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นช่องทางในการนำความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นมาสร้างประโยชน์ รวมทั้งยังช่วยสร้างรายได้ให้เจ้าของทรัพยากรในท้องถิ่นและรักษาภูมิปัญญาในท้องถิ่นได้ โดยต่างจากประเทศไทยซึ่งผู้บรรยาย (ดร.บรรพต ณ ป้อมเพชร) ได้ชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาซึ่งนักวิชาการไม่ทราบนโยบายและทิศทางที่ชัดเจนจากภาครัฐและมีผลกระทบต่อการศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรมและชีววิทยา รวมทั้งงานวิจัยด้านการตัดแต่งทางพันธุกรรม ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขและสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อให้ความหลากหลายทางชีวภาพของไทยก้าวทันประเทศอื่นๆในเอเซียต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น