สไลโชว์

นาฬิกา

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

สิ่งประดิษฐ์จกกะลามะพร้าว


ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ของดีจากธรรมชาติ
ในอดีตกะลามะพร้าวถูกนำมาทำเครื่องใช้หลายชนิดที่ยังพอมีให้เห็นเป็นของเก่าอยู่บ้างคือ จอกตักน้ำ หรือกะโหลกตักน้ำ หรือ ทะนานที่ใช้สำหรับตักข้าวสาร และยังมีอีกหลายชนิดที่แล้วแต่จะเรียกชื่อกันนับเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนที่มีวิถีชีวิตแบบ ไทย ๆใช้ของไทยที่ผลิตขึ้นเองจากวัสดุในท้องถิ่นสิ่งต่าง ๆเหล่านี้เริ่มเลือนหายเมื่อความเจริญทางด้านเทค โนโลยีต่าง ๆเข้ามาแทนที่จึงหันไปใช้พวกโลหะหรือพลาสติกแทน


แต่ปัจจุบันยังมีคนบางกลุ่มที่เห็นประโยชน์ของกะลามะพร้าวและพยายามฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างคุณค่าให้เกิดกับกะลามะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นและเชิญชวนให้คนทั่วไปหันกลับมาเห็นคุณค่าของภูมิ ปัญญาเหล่านี้

นายพีรพล โสวัตร ประธานกลุ่มแปรรูปกะลามะพร้าว ต.หนองยาว อ.พนมสารคามจ.ฉะเชิงเทรา สังกัดสหกรณ์การเกษตรพนมสารคาม จำกัด เปิดเผยว่าการสร้างผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวเริ่มต้นจาก อ.บุญเสริม บุญเจริญผลเป็นคนในพื้นที่นี้และอยากช่วยชาวบ้านให้มีอาชีพ

ท่านเห็นว่าพื้นที่นี้มีมะพร้าวเป็นทรัพยากรเลยคิดว่าน่าจะเอามาทำประโยชน์จึงส่งให้ไปเรียนรู้จากกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมพื้นบ้านระยะสั้น หลังจากนั้นจึงนำความรู้มาถ่ายทอดและทำสินค้าเริ่มแรกทำเป็นเครื่องใช้ พวกแก้วน้ำ ชามใส่ ข้าว ถ้วย หิ้วไปขายหน้ารามฯหน้าจตุจักร แต่ไม่ประสบผลสำเร็จก็ปรับปรุงมาเรื่อย ๆจากเครื่องใช้เป็นเครื่องประดับ เครื่องตกแต่งลองตลาดไปเรื่อย ๆจากการไปขายของทำให้รู้ว่าเราต้องผลิตตัวไหน

เริ่มแรกเราไปตระเวนหามะพร้าวที่เขาทิ้งพวกมะพร้าวที่เพาะไม่ขึ้นมะพร้าวหล่น มะพร้าวที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ขอเขามาสมาชิกแต่ละคนจะเลือกมะพร้าวตามขนาดที่ต้องการแล้วปอกเปลือกเพื่อคัดแยกขนาดว่าลูกไหนจะไปทำอะไร ทำนก ทำกา ทำแก้วกาแฟคัดเสร็จนำมาเลื่อยหรือผ่าเอาเนื้อในออกซึ่งเอาออกยากมากและการแคะเนื้อออกต้องใช้ความชำนาญพิเศษ

เสร็จแล้วเอามาเจียด้วยกระดาษทรายหยาบและกระดาษทรายละเอียดจนถึงสำเร็จรูปแล้วมาตก แต่งขึ้นรูป ผลิตภัณฑ์บางตัว เช่น ทัพพี ตะหลิวมีไม้ตาลเป็นส่วนประกอบก็หาได้ในพื้นที่ส่วนผักตบที่นำมาตกแต่งสายไฟไปซื้อจากอีกกลุ่มที่อยู่ต่างจังหวัดแต่ซื้อครั้งละจำนวนมากจะได้ราคาถูก เก็บได้เป็นปีส่วนเครื่องมือในการทำมีมอเตอร์ สว่าน เลื่อย ตั้งกลุ่มเสร็จแล้วจึงซื้อแต่ช่วงที่ ทำนำร่องก็มีการซื้อเครื่องมาก่อนบ้างซึ่งเครื่องมือบางอย่างต้องมาดัดแปลงแก้ไขเพราะกะลาเป็นวัตถุดิบที่มีความกลมไม่เหมือนไม้ เครื่องมือส่วนใหญ่ที่เขาทำขึ้นเหมาะกับการทำไม้ฉะนั้นเราจึงต้องนำมาดัดแปลงเพื่อให้ใช้งานได้ซึ่งลงทุนไม่มาก

นายพีรพล กล่าวอีกว่าการพัฒนาตลาดเราเป็นกลุ่มเล็กแต่ก็ทำตลาดอย่างต่อเนื่องช่วงหลังรูปแบบของสินค้าเกิดจากการออกตลาด ออกบูธลูกค้าเอารูปแบบมาเสนอให้ทำ ทำให้เห็นรูปแบบใหม่ ๆ ก็มาช่วยกันคิดช่วยกันทำและลองตลาด เราขายอยู่ตลอดฝ่ายขายของเราจะบอกว่าอันนี้ทำแล้วขายได้ก็จะทำมีการทำบัญชียอดขายเดือนหนึ่งประมาณ 70,000-100,000 บาท

ปัจจุบันมีสินค้าประมาณ 20 ชนิด เครื่องประดับ เช่น สร้อยข้อมือ สร้อยคอแหวน ต่างหู กิ๊บ ปิ่นปักผม พวงกุญแจ หวี เครื่องใช้ เช่น ทัพพี ตะหลิวช้อน แก้วกาแฟอื่น ๆ ที่เป็นของโบราณ เครื่องตกแต่งบ้าน เช่น โคมไฟที่วางสบู่ ที่ใส่ทิซชูราคาสินค้าขึ้นกับความยากง่ายของสินค้าที่คำนวณออกมาว่าน่าจะอยู่ได้คำนวณจากต้นทุนของค่าแรง ราคาที่ต่ำสุดตั้งแต่ 10 บาท ถึง 1,500 บาทราคาถูกสุด 10 บาท ได้แก่พวงกุญแจ สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไร

ซึ่งทำมาจากกะลาที่เราเจาะทิ้งจากการทำอุปกรณ์ชิ้นอื่น ๆซึ่งช่วงหลังไม่ต้องตระเวนหามะพร้าวเองแต่จ้างเขารวม ๆ ไว้แล้วไปขนเองตลาดที่เราขายมีส่วนราชการช่วยหาให้ เช่น พัฒนาชุมชน สหกรณ์ พาณิชย์เป็นตลาดงานฝีมือ งานโอทอป งานแปรรูป และเราไปเปิดบูธหาเองตามห้างส่วนตลาดมีทั้งต่างประเทศ กับตลาดในประเทศ สินค้าบางตัวแยกตลาด 2 ประเภทคือเดินตลาดขายเอง ก็จะทำประเภทที่ชาวบ้านซื้อได้กับรอออร์เดอร์จำพวกโคมไฟ ซึ่งตามโรงแรมจะสั่งทำส่วนต่างประเทศจะมีพ่อค้าที่เป็นบริษัทมารับซื้อเรารับจ้างผลิตสินค้าส่งไปหลายประเทศ ได้แก่ แคนาดา อเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน

สำหรับการผลิตสินค้าของกลุ่มนั้นมีทั้งมาร่วมกันผลิตที่กลุ่มและนำไปทำที่บ้าน ซึ่งสมาชิกจะได้ค่าแรงตามชิ้นงานตามความสามารถของแต่ละคน เช่น โคมไฟ1 ต้น จะได้ค่าแรงประมาณ 60-80 บาท แต่อุปกรณ์ทางกลุ่มจัดหาให้และกำไรที่ได้ตอนสิ้นปีนำมาจัดสรรคืนสมาชิกตามความสามารถของแต่ละคนซึ่งสมาชิกจะมีการให้คะแนนกันเองตามความสามารถของแต่ละคนก็จะจัดสรรค่าแรงให้เพิ่มตามสัดส่วนของคะแนนส่วนที่เหลือแบ่งเป็นทุนส่วนหนึ่งและเป็นการจัดการส่วนหนึ่ง

“อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กลุ่มเราเป็นกลุ่มที่เข้มแข็งที่สุดไม่เคยได้รับงบประมาณของใครแต่เมื่อปีที่แล้วได้รับจากสหกรณ์ฯ 40,000 บาท นำมาซื้อเครื่องมือวัตถุดิบและใช้ในระบบการจัดการ และเคยได้รับจากพัฒนาชุมชนมา 3,500 บาทเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา

ตั้งแต่มี otop ช่วงแรก ๆเขาเห็นเราออกงานแล้วเขาก็ตามมาดูว่าใช้สิ่งเหลือใช้จึงช่วยเหลือเพราะเราใช้วัสดุในท้องถิ่นเกือบ 100% ประมาณ 5% เป็นพวกกาว ปลั๊กไฟหลอดไฟที่ต้องพึ่งพาตลาด แรงงานก็เป็นของเราผลิตภัณฑ์นี้มาจากท้องถิ่นในช่วง otopกำลังเป็นที่นิยมส่วนราชการมาช่วยเยอะ หลังจากนั้น otop หายไปครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งต้องเก่งจริงและต้องช่วยเหลือตัวเองจริง ๆจึงอยู่ได้ผลิตภัณฑ์ของเราได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือ มผช.”

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่ากลุ่มแปรรูปกะลามะพร้าวได้รับการอบรมการจัดทำบัญชีวิเคราะห์ต้นทุนและแผนธุรกิจภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เมื่อปี2549 จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ และได้รับสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน จำนวน40,000 บาท ในปี 2550 เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการจัดซื้อวัตถุดิบ

กลุ่มนี้มีการจัดทำบัญชีของกลุ่มเป็นปัจจุบันและมีการผลิตสินค้าอย่างต่อเนื่องและเป็นกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกับกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มกะลาจ.นครนายก กลุ่มศิลปะประดิษฐ์ จ.หนองบัวลำภู มีการนำสินค้าไปฝากขายในโอกาสต่อไปสามารถ จะพัฒนาให้ก้าวหน้า ได้ เพราะมียอดขายอยู่แล้ว และในปีนี้สำนักงานสหกรณ์ได้สนับสนุนงบประมาณในการทำบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้มากขึ้นและยังช่วยหาตลาดให้เพิ่มมากขึ้น
สรุป
กะลามะพร้าวสมารถทำงนทำเงินให้กับเราทุกคนที่มีความสามารถให้มีเป็นอาชีพเสริมได้